มีโรคแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่าสนใจ
แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger"s Syndrome) โรคแปลกๆ ที่จะทำให้เกิดความผิดปกติในการเข้าสังคม ด้วยมีอาการหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าปกต ิ
ฟังดูเหมือนว่าอาการของโรคนี้จะไม่รุนแรง หรือออกอาการโดดเด่นเหมือนกับการเป็นออทิสติก ดาวน์ซินโดรม หรือ ไฮเปอร์ ก็ตาม เพราะโรคนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กปกติ แถมเป็นเด็กที่ เฉลียวฉลาด สติปัญญาดี
สำหรับอาการของโรคนี้ ไม่ได้แสดงออกทางโรคร้าย รูปร่าง หน้าตา แต่จะไปออกเอาที่พฤติกรรม
อาการที่ว่านี้มีอยู่ 3 ประการ ด้านภาษา สังคม และพฤติกรรม
ด้านภาษาที่ว่านี้ ไม่ได้อยู่ที่พูดไม่ชัดหรือติดขัดในเวลาพูดแต่จะอยู่ ที่ความเข้าใจในเรื่องที่จะพูด โดยเฉพาะเรื่องแฝงนัย กำกวม อย่างมุกตลก คำเปรียบเปรย และคำประชดประชันต่างๆ หรือคำผวน
ด้านสังคมก็จะออกในแนวที่ไม่ยอมมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่ค่อยมองหน้าหรือสบตาเวลาพูดคุย แยกตัวอยู่คนเดียวไม่ค่อยสนใจบุคคลรอบข้าง เล่นกับเด็กคนอื่นไม่ค่อยเป็น ไม่รู้จักการทักทาย ยับยั้งชั่งใจหรือรอคอยไม่เป็น
ส่วนด้านพฤติกรรมจะเห็นได้จากการที่ชอบทำอะไรซ้ำๆ ระดับที่เรียกได้ว่า หมกมุ่น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ซับซ้อน อย่างเช่น แผนที่โลก วงจรไฟฟ้า ยี่ห้อรถยนต์ ดนตรีคลาสสิก ไดโนเสาร์ ระบบสุริยจักรวาล เป็นต้น
ส่วนต้นเหตุของโรคแอสเพอร์เกอร์นี้ยังไม่ทราบที่มาที ่ไป แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่ามีหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งการทำงานที่ผิดปกติทางสมอง พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
น.พ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่เป็นโรคนี้ว่า บางคนอาจมีปัญหาเรื่องที่ไม่สามารถมีสมาธิกับเรื่องใ ดเรื่องหนึ่งได้นานนัก หรือมีปัญหาในการจัดลำดับเรื่องต่างๆ แม้จะมีทักษะในบางเรื่องที่อาจจะดูดีกว่าเด็กอื่นก็ต าม
เด็กเหล่านี้จะไม่ยอมเข้าสังคม ไม่พูดคุย ไม่ร่วมกิจกรรมใดๆ บางรายถึงขนาดยอมให้ครูตี เพราะไม่ส่งการบ้าน ที่ร้ายไปกว่านั้นเด็กกลุ่มนี้จะชอบทำอะไรก็จะทำแบบส ุดโต่ง และจะมีความอ่อนไหวมาก เวลาที่เขารักใครก็จะรักจริง
สำหรับข้อแนะนำที่จะช่วยเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ซ ินโดรมนั้น คุณหมอให้คำแนะนำว่า
1.เล่นกับเด็กโดยเอาความสนใจของเด็กเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยๆ ขยายความสนใจไปในมุมอื่นๆ เพื่อแบ่งความสนใจและอารมณ์ซึ่งกันและกัน
2.สนทนาด้วยคำง่ายๆ ชัดเจน ถ้ายกตัวอย่างก็ควรให้เห็นในรูปของสิ่งของ สถานการณ์จริงหรือรูปภาพ เพื่อความเข้าใจและการเรียนรู้ได้เร็ว
3.สร้างบรรยากาศสบายๆ ไม่เครียด ให้ความอบอุ่นและเป็นกันเอง
4.เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับกฎระเบียบควรจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อนให้เด็กเข้าในกลุ่มใหญ่
5.การใช้คำสั่ง ต้องมีความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย
6.ควรสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
7.สนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมหลากหลายเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อหนีความเคยชินที่ซ้ำซาก เป็นหนทางในการช่วยเหลือให้เด็กอยู่ในสังคมได้อย่างม ีความสุข
เครดิต
http://www.toonleader.co.cc/forum/forum.php?mod=viewthread&tid=1684&extra=page%3D1