คนส่วนใหญ่คิดว่า น่าจะปลอดภัยถ้าอาหารตกลงบนพื้นไม่นาน... ตอนเด็กๆ ผู้เขียนจำได้ว่า มีหลายคนถึงกับหยิบแล้วบ่นว่า "เชื้อโรคมองไม่เห็น"
การศึกษาทำโดยนับจำนวนเชื้อซาลโมเนลลา ไทฟิมูเรียม (Salmonella typhimurium) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้
...
ขั้นแรก คือ หาว่าเชื้อนี้อยู่บนพื้นไม้ กระเบื้อง หรือพรมได้นานเท่าไร... ผลการศึกษาพบว่า เชื้อโรคมีชีวิตอยู่ได้หลัง 4 สัปดาห์แม้จะอยู่บนพื้นไม้ กระเบื้อง หรือพรมที่แห้ง และมีชีวิตต่อไปมากพอที่จะติดเชื้อไปยังอาหารได้
การทดลองโดยทำไส้กรอกตกลงบนพื้นกระเบื้องพบว่า มากกว่า 99% ของเชื้อจากพื้นเกาะติดหนึบไปบนผิวไส้กรอกได้ภายใน 5 วินาที
...
ถ้าไส้กรอกตกลงบนพื้นไม้พบว่า การเกาะติดกลับไปยังไส้กรอกช้ากว่า คือ 5-68% ภายใน 5 วินาที, และจากพรมช้ากว่านั้น คือ 0.5% ภายใน 5 วินาที
เชื้อโรคแม้จะมีปริมาณเล็กน้อยอาจทำให้คนเราป่วยไข้ไม่สบายได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก คนสูงอายุ หรือคนที่ไม่แข็งแรง เช่น คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ คนที่ติดเชื้อเอชไอวี (ไวรัสเอดส์), คนสูบบุหรี่, คนดื่มหนัก ฯลฯ
...
อาหารบางอย่างมีเชื้อเกาะติดมากับผิวนอกได้ง่าย เช่น ไข่ ผลไม้ ฯลฯ ควรใช้ฟองน้ำล้างจานถูด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจานเล็กน้อย ผ่านน้ำ แล้วค่อยนำไปปรุงอาหาร จะช่วยลดท้องเสียได้
และอย่าลืมว่า ท้องเสียส่วนหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อกันได้คล้ายหวัด โดยเฉพาะติดผ่านมือ การล้างมือด้วยสบู่หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ, หลังออกจากห้องน้ำช่วยลดเสี่ยงติดเชื้อได้เช่นกัน
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
ขอขอบคุณข้อมูลจาก oknation.net